Day: August 30, 2018

ความยากจนทางปัญญา

การแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นนโยบายของพรรคการเมืองทุกพรรค ที่ใช้เป็นแนวทางในการหาเสียง เมื่อพรรคได้รับเลือกตั้งเป็นรัฐบาล ก็ประกาศไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา ก่อนเข้าบริหารประเทศ ส่วนทำได้มากน้อยเพียงใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อพูดถึงความยากจน เรามักคิดถึงคนที่มีรายได้น้อย มีเงินน้อย มีทรัพย์สมบัติน้อย ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ชาวไร่ชาวนา กรรมกร รับจ้าง คนหาเช้ากินค่ำ ฯลฯ ซึ่งสามารถมองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจาก "ความยากจนทางทรัพย์สิน" แล้ว...

สื่อออนไลน์ – อาหารสมอง

โลกมีประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 6,000 กว่าล้านคน แต่มีเพียง 1,000 ล้านคนเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงสื่อออนไลน์หรืออินเตอร์เน็ต บางประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่เข้าถึงอินเตอร์เน็ต แต่อีกหลายประเทศที่ประชาชนส่วนน้อยเท่านั้นที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ต ทำอย่างไรจะทำให้คนส่วนใหญ่ของโลกเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ถ้วนหน้ากัน หรือสามารถติดต่อกันทั้งโลก จาก 1,000 ล้านคนในวันนี้ อีกไม่นานคงถึง 1,500 ล้านคนซึ่งไม่ยากนัก เพราะคนจีนซึ่งมีจำนวนมากกำลังเป็นผู้ใช้รายใหม่มากขึ้น แต่เราจะทำให้คนเข้าถึงอินเตอร์เน็ต 2,000...

พระกับโจร

ขณะนี้สังคมกลุ่มหนึ่งกำลังถกเถียงกันว่า "พระกับโจรจะอยู่ร่วมกันได้หรือไม่" ฝ่ายหนึ่งมองว่าพระกับโจรอยู่ร่วมกันไม่ได้ เปรียบเสมือนความดีกับความชั่ว ความดีกับความเลวอยู่ร่วมกันไม่ได้ ไม่มีจุดประนีประนอมระหว่างความดีกับความเลว ความดีกับความชั่ว ความซื่อสัตย์กับความคดโกง ฯลฯ สังคมต้องเลือกข้างว่า จะอยู่ข้างความดีหรือความเลว จะอยู่ข้างพระหรืออยู่ข้างโจร ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งมีความเห็นว่า พระกับโจรอาจอยู่ร่วมกันได้ เพราะพระสามารถสั่งสอนอบรมให้โจรกลับใจได้ โดยยกตัวอย่างกรณีพระพุทธเจ้ากับองคุลีมาล ที่พระพุทธองค์สามารถสั่งสอนจนองคุลีมาลกลับใจและสำเร็จเป็นพระอรหันต์ หลายฝ่ายมองว่าพระกับโจรในพุทธศตวรรษที่ 25 ไม่เหมือนกับพระพุทธองค์และองคุลีมาลในสมัยพุทธกาล...

ความสุข……อยู่ตรงไหน?

เศรษฐกิจจะพัฒนาหรือขยายตัวมากน้อยเพียงใด นักเศรษฐศาสตร์จะใช้ จีดีพี. (Gross Domestic Products) หรือ ผลิตภัณท์มวลรวมภายในประเทศเป็นตัววัด แต่ระยะหลัง คนไทยเริ่มพูดถึงความสุข หรือ จีดีเอช. (Gross Domestic Happiness) มากขึ้นควบคู่ไปกับ จีดีพี. ซึ่งหมายถึงว่า นอกจากตัวเลขเศรษฐกิจจะขยายตัวแล้ว คนต้องมีความสุขด้วย...

ปัญหาการอพยพลี้ภัยในประเทศไทย

ประเทศไทยมีประสบการณ์ในเรื่องของผู้อพยพลี้ภัยมาเป็นเวลานาน ที่ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญก็คือ การอพยพของคนลาว เวียดนาม ที่หนีระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์เข้ามาในไทยหลังจากที่คอมมิวนิสต์ยึดครองอินโดจีนได้ในปี 2518 ในขณะนั้น เรามีค่ายผู้ลี้ภัยอยู่ตามชายแดนลาวหลายแห่งเพื่อรองรับคนลาวที่ข้ามแม่น้ำโขงเข้ามา และมีค่ายผู้ลี้ภัยในภาคใต้เพื่อรองรับมนุษย์เรือ หรือผู้อพยพจากเวียดนามที่มาทางเรือ พอหลังจากปี 2521 เมื่อเวียดนามบุกกัมพูชา มีชาวเขมรหลายแสนคนอพยพข้ามพรมแดนเข้ามาในไทย เรามีค่ายผู้อพยพหลายแห่งตามชายแดนด้านอีสานใต้ติดต่อกับกัมพูชา ไทยมีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการผู้อพยพร่วมกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติ หรือ UNHCR รวมทั้งการส่งผู้อพยพกลับประเทศเมื่อเหตุการณ์ในลาวและกัมพูชาดีขึ้น และการส่งผู้อพยพไปประเทศที่สาม...

หัวใจแข็งแรงด้วยแอโรบิก

(สาระ อมรพันธุ์ คอลัมน์ สาระโลกยิ้ม นสพ.โลกวันนี้ ศุกร์ 9 เม.ย. 47 หน้า 3A) ค้างกันไว้ที่เรื่องของการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ซึ่งจะส่งผลดีต่อกล้ามเนื้อหัวใจที่มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมาก นายแพทย์อรรถฤทธิ์ ศฤงคไพบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ฟื้นฟู หัวหน้าฝ่ายบริหารศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิกนั้นจะต้องมีการเคลื่อนไหวมาก...

โลกการอ่านที่เปลี่ยนแปลง

(วรากรณ์ สามโกเศศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ [email protected] นสพ.มติชน พฤหัสฯ 30 ธ.ค. 47 หน้า 6) โลกของการอ่านกำลังเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทั้งในรูปลักษณ์ของสิ่งที่อ่าน รสนิยมของคนอ่าน เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงขนาดของสิ่งพิมพ์ด้วย หนังสือพิมพ์มิได้ตั้งขึ้นมาเพื่อสาธารณกุศล หากสนใจรายได้ กำไร และจำนวนคนอ่าน ดังนั้น...

มาขึ้นปีใหม่ด้วยเมตตากันเถิด

(วสิษฐ เดชกุญชร นสพ.มติชน อังคาร 28 ธ.ค. 47 หน้า 6) ตอนนี้ใครๆ ก็คงได้รับบัตร ส.ค.ส.กันทุกคนนะครับ มากบ้างน้อยบ้าง และหลายคนก็คงจะกำลังส่งบัตร ส.ค.ส.กันอยู่เป็นธรรมดา "ส.ค.ส." ย่อมาจาก "ส่งความสุข" การส่งบัตร ส.ค.ส.จึงเป็นการแสดงเจตนาหรือความประสงค์ของผู้ส่งที่จะให้ผู้รับมีความสุข...