เคล็ดไม่ลับ วิธีง่ายๆ ในการป้องกันออฟฟิศซินโดรม

หนึ่งในโรคที่หลายคนมักเผชิญกันอยู่ในทุกวันนี้นั่นคือ ออฟฟิศซินโดรม โดยเฉพาะกับผู้ที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์อย่างพนังงานออฟฟิศ โดยในวันนี้เราก็มีเคล็ดลับดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการป้องกันปัญหาออฟฟิศซินโดรมของชาวออฟฟิศกันจะมีเคล็ดลับอะไรบ้าง เราไปดูกันเลย

ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับออฟฟิศซินโดรมกันก่อน โดยออฟฟิศซินโดรมหรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) คือ อาการปวดจากการใช้งานของกล้ามเนื้อมัดเดิมๆ ซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จนเกิดเป็นอาการปวดสะสมและกลายเป็นปวดเรื้อรังในที่สุด ซึ่งอาจพบร่วมกับอาการชาบริเวณแขน มือ และปลายนิ้ว ที่มีสาเหตุเกิดจากการที่เส้นประสาทส่วนปลายในแต่ละตำแหน่งถูกกดทับอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

สาเหตุการเกิดออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรมนั้นมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดอาการดังกล่าวได้มากมาย โดยจะขอยกตัวอย่างสาเหตุหลักๆ ที่เกิดออฟฟิศซินโดรม ได้แก่

  • ลักษณะท่าทาง (Poster) เช่น ลักษณะท่านั่งทำงาน การวางมือ ศอก บนโต๊ะทำงานที่ไม่ถูกต้อง รวมไปถึงลักษณะการยืน เช่น การยืนหลังงอ ห่อไหล่ ด้วยเช่นเดียวกัน
  • การบาดเจ็บจากการใช้งานซ้ำ ๆ (Cumulative Trauma Disorders) หรือระยะเวลาในการทำงานที่มากเกินไป ทำให้ร่างกายเกิดอาการล้า เช่น การใช้ข้อมือซ้ำๆ ในการใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ด อาจทำให้เกิดการอักเสบของเอ็นบริเวณข้อมือ หรือพังผืดเส้นประสาทบริเวณข้อมือได้ เป็นต้น
  • สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ลักษณะโต๊ะทำงาน หน้าจอคอมพิวเตอร์ แสงสว่างในห้องทำงาน รวมไปถึงเก้าอี้ พนักพิง เบาะรองนั่ง หรือรองเท้า ก็มีส่วนด้วยเช่นกัน

เคล็ดลับในการป้องกันออฟฟิศซินโดรม

เคล็ดลับในการป้องกันไม่ให้เกิดออฟฟิศซินโดรมนั้นง่ายมากไม่มีอะไรซับซ้อน ซึ่งหากใครที่กำลังประสบปัญหาเสี่ยงที่จะเป็นออฟฟิศซินโดรมแล้วสามารถปฏิบัติตามนี้ได้ รับรองได้ว่าบอกลาคำว่าออฟฟิศซินโดรมไปได้เลย

  1. การปรับเปลี่ยนท่าทางอริยาบทให้เหมาะสม
    อย่างแรกที่ต้องปฏิบัติเลยก็คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลักษณะท่าทางให้เหมาะสมในการทำงานไม่ว่าจะเป็นท่านั่ง ท่ายืน หรือการวางมือและศอก เป็นต้น
  2. ปรับเปลี่ยนท่าทางอิริยาบถอยู่เสมอ ไม่ควรอยู่ในท่าทางเดิมๆ ซ้ำๆ เป็นเวลานาน
    อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรมก็คือ การใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมๆ ซ้ำๆ ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน ดังนั้นการปรับเปลี่ยนท่าทางอยู่บ่อยครั้ง ก็จะช่วยให้ลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้นั่นเอง
  3. ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์และลักษณะแวดล้อมให้เหมาะสม
    นอกจากลักษณะท่าทางของเราที่ต้องปรับให้เหมาะสม รวมไปถึงการหมั่นปรับเปลี่ยนอิริยาบถแล้ว เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์แวดล้อมต่างๆ ให้เหมาะสมกับการใช้งานอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ เก้าอี้ หน้าจอ เม้าส์ แสงไฟ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
  4. เตรียมความพร้อมให้กับร่างกาย
    วิธีการที่จะป้องกันออฟฟิศซินโดรมในระยะยาวได้ นั่นคือ การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงทนทานให้กับกล้ามเนื้อของเราไม่ว่าจะเป็นส่วนที่ต้องใช้งานหนัก หรือส่วนที่ไม่ค่อยได้ใช้งานก็ตาม นอกจากนี้ก่อน ระหว่าง และหลังการทำงานก็ควรจะมีการยืดหรือวอร์มกล้ามเนื้อเสียก่อน เพื่อให้กล้ามเนื้อในร่างกายได้ผ่อนคลายและเกิดความพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา