กลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดอาการไหล่ติดได้ง่าย

อาการไหล่ติดเป็นหนึ่งในอาการผิดปกติของร่างกายที่เกิดขึ้นในบริเวณหัวไหล่ โดยอาการเบื้องต้นจะรู้สึกปวดตึงบริเวณหัวไหล่หรือข้อไหล่ ไม่สามารถทำการเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้อย่างอิสระตามใจคิดได้ หากปล่อยให้อาการไหล่ติดเรื้อรังไม่รีบทำการรักษาอาจจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายอย่างรุนแรงได้

ซึ่งเรื่องที่เราจะมาพูดถึงในวันนี้คือเรื่องเกี่ยวกับกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดอาการไหล่ติดได้ง่าย พร้อมทั้งแนะนำวิธีการรักษาทางกายภาพบำบัดแบบไม่ต้องผ่าตัด

กลุ่มเสี่ยงที่เกิดอาการไหล่ติดได้ง่าย

อาการไหล่ติดหรือข้อไหล่ติดเกิดจากเส้นเอ็นหุ้มข้อไหล่อักเสบ การติดยึด และการสร้างแถบเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ทำให้เส้นเอ็นเหล่านั้นหนาตัวขึ้นและเมื่อเราขยับแขนหรือมีการเคลื่อนไหวบริเวณข้อไหล่จะทำให้เส้นเอ็นดังกล่าวถูกยืดและเกิดอาการเจ็บปวดจนทำให้ไม่สามารถขยับข้อไหล่ได้ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดอาการไหล่ติดได้ง่าย ได้แก่

  • กลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคปอด และโรคที่เกี่ยวกับความอ้วน เป็นต้น
  • กลุ่มผู้ที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวหัวไหล่เป็นเวลานาน เช่น ผู้ป่วยติดเตียง
  • กลุ่มผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุที่บริเวณแขนหรือข้อไหล หรือ และต้องทำการผ่าตัดบริเวณข้อไหล่
  • กลุ่มผู้ที่มีปัญหาหินปูนเกาะกระดูกไหล่
  • กลุ่มผู้ที่มีสภาวะเส้นเอ็นที่ไหล่ฉีกขาด

วิธีการรักษาอาการไหล่ติด

วิธีการรักษาอาการไหล่ติดนั่นมีมากมายหลายวิธีตั้งแต่การรับประทานยารักษาจนไปถึงการผ่าตัดซึ่งวิธีการรักษาก็จะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วย แต่โดยทั่วไปแล้วจะเน้นการรักษาอาการไหล่ติดด้วยการทำกายภาพบำบัดเสียเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากช่วยลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด และยังให้ผลการรักษาที่ดีและต่อเนื่องแก่ผู้ป่วยไม่ต้องใช้ระยะเวลาในการพักฟื้น โดยการรักษาอาการไหล่ติดด้วยวิธีทางกายภาพบำบัดก็สามารถทำได้หลายวิธี เช่น

  • การออกกำลังกาย
  • การยืดกล้ามเนื้อ
  • การนวด
  • หรือจะเป็นการใช้เครื่องมือในการช่วยรักษาเช่น เครื่อง Focus Shockwave, เครื่อง High Power Laser, หรือ เครื่อง Ultrasound เป็นต้น